ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน้าหลัก/ภาษาไทย ดูประวัติ

บรรทัดที่ 169: บรรทัดที่ 169:


== สถานที่ ==
== สถานที่ ==
ศึกษาใน [//wiki.waze.com/wiki/Places ไกด์ไลน์ทั่วไป] (ภาษาอังกฤษ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
===ปัญหาแนวชายฝั่ง===
===ปัญหาแนวชายฝั่ง===
===ชื่อสถานี===
ส่วนของแผนที่จำนวนมากซึ่งเป็นแผ่นดินยังคงปรากฏเป็นพื้นน้ำ ปัญหานี้พบบนแอพพลิเคชันและ Livemap ปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไขโดยศูนย์บัญชาการ Waze แต่ระดับความสำคัญของปัญหาลักษณะอยู่ในระดับต่ำ เราสามารถแก้ไขปัญหา 'ชายฝั่ง' นี้ได้ด้วยตัวเอง โดยการสร้างสถานที่ประเภทเกาะขึ้นมาครอบคลุมส่วนที่เป็นปัญหา หลังจากสร้างพื้นที่ประเภทเกาะแล้ว กรุณรอจนกว่าจะปรากฏบน livemap และปรับแก้รูปร่างจนกว่าจะสมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ห้ามตั้งชื่อให้กับเกาะเด็ดขาด ให้ใส่คำอธิบาย เช่น "coastline problem" ลงไปในกล่อง คำอธิบาย/description แทน จากนั้นให้ติดต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อล็อกเกาะนั้นเป็นระดับ 5
 
===ชื่อสถานที่===
ชื่อหลักของสถานที่ควรเป็นชื่อฉบับถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาไทย หากสถานที่มีชื่อภาษาอังกฤษให้ใส่ชื่อภาษาอังกฤษ ส่วนชื่อภาษาไทยให้ใส่ในชื่ออื่น ๆ
 
===ที่อยู่===
===ที่อยู่===
ที่อยู่แบบไทยมีรายละเอียดจำนวนมากที่ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับขอบเขตข้อมูลของ WME ได้ง่ายนัก ดังนั้น ให้เพิ่มชื่อเมืองและถนนตามปกติ แต่ขณะนี้ ที่อยู่เต็มของสถานที่ (หากทราบ) สามารถระบุไว้ในกล่อง "'''คำอธิบาย/description'''"
===จุด vs สถานที่===
===จุด vs สถานที่===
ประเทศไทยนั้นแตกต่างกับมาตรฐานโลก เมื่อพูดถึงการใช้สถานที่ที่เป็นพื้นที่ (area places) และสถานที่ที่เป็นจุด (point places) เนื่องจากถนนจำนวนมากนั้นไม่มีชื่อ หรือป้ายบอกชื่อ (ทั้งในความเป็นจริงและใน Waze) แลนด์มาร์กสำคัญใด ๆ ที่สามารถเข้าถึงให้สร้างเป็น''สถานที่ที่เป็นพื้นที่'' (area places) เพื่อช่วยในการนำทางจริง สถานที่ดังกล่าวนั้น อาจเป็น วัด, โรงเรียน, สำนักงานของหน่วยงานรัฐ หรือ หน่วยงานธุรกิจใด ๆ ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วน''สถานที่ที่เป็นจุด'' (point places) อาจไม่มีความจำเป็นในเขตชุมชนเมือง หรือพื้นที่ที่มีการระบุเป็นอย่างดี จึงควรใช้วิจารณญาณที่ดีที่สุดในการตัดสินใจว่าเมื่อใดจึงควรใช้สถานที่แบบใด
โดยทั่วไป สถานที่เหล่านี้ควรจะต้องชื่อทุกครั้งที่ทำได้ คำที่บ่งชื่อทั่วไป เช่น "School" หรือ "Temple" อาจถูกนำมาใช้ในพื้นที่ชนบท เมื่อไม่ทราบชื่อสถานที่นั้น เพื่อช่วยในการนำทาง
โปรดระลึกไว้ว่า Waze จะไม่เรนเดอร์สถานที่ที่เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก โดยข้อจำกัดของขนาดที่แน่นอนนั้นยังไม่มีการนิยาม แต่ในขณะที่เขียน สถานที่ที่จะปรากฏต้องมีขนาดอย่างน้อย 25 เมตร x 35 เมตร เพื่อให้ปรากฏให้เห็นได้บนแอพ ส่วนแลนด์มาร์กสำคัญอาจมีการวาดขนาดใหญ่กว่าขนาดจริงเพื่อให้สามารถมองเห็นได้บนแอพ
===สถานที่ตามธรรมชาติ===
===สถานที่ตามธรรมชาติ===
===สถานที่ที่เป็นจุด===
===สถานที่ที่เป็นจุด===
===บริเวณลานจอดรถ===
===บริเวณลานจอดรถ===
===ตัวอย่าง===
===ตัวอย่าง===
= เลเวล สิทธิ ฯลฯ =
= เลเวล สิทธิ ฯลฯ =
หากคุณไม่สามารถแก้ไขบางอย่างได้ นั่นเป็นเพราะมันถูกล็อกอยู่ [https://www.waze.com/forum/viewforum.php?f=1403 ไปตั้งกระทู้ร้องขอปลดล็อกได้ที่นี้] (ควรตั้งกระทู้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิ์ปลดล็อกที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยสามารถดำเนินการได้ด้วย) ก่อนที่คุณจะเริ่มทำงานบนทางแยกหรือวงเวียน กรุณาอย่าลืมตรวจสอบเลเวลของส่วนที่เชื่อมต่ออยู่ทั้งหมดเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถแก้ไขได้โดยไม่มีอุปสรรค์
หากคุณไม่สามารถแก้ไขบางอย่างได้ นั่นเป็นเพราะมันถูกล็อกอยู่ [https://www.waze.com/forum/viewforum.php?f=1403 ไปตั้งกระทู้ร้องขอปลดล็อกได้ที่นี้] (ควรตั้งกระทู้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิ์ปลดล็อกที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยสามารถดำเนินการได้ด้วย) ก่อนที่คุณจะเริ่มทำงานบนทางแยกหรือวงเวียน กรุณาอย่าลืมตรวจสอบเลเวลของส่วนที่เชื่อมต่ออยู่ทั้งหมดเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถแก้ไขได้โดยไม่มีอุปสรรค์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:58, 7 ธันวาคม 2562

This article is in Thai. For English click here
สำหรับ wiki.waze.com ของประเทศไทยเข้าชมที่นี่ (ภาษาอังกฤษ)

หมายเหตุ : บทความนี้ยังอยู่ระหว่างการแปลและการจัดข้อความให้เหมาะสมกับภาษาไทยและความรู้พื้นฐานของคนไทยต่อถนนรวมทั้งต่อระบบ Waze ขออภัยในความไม่สะดวก

ยินดีต้อนรับสู่ Waze ประเทศไทย!

เรามีฟอรั่มทางการในภาษาอังกฤษ, กลุ่มไม่เป็นทางการเท่าไหร่บนเฟซบุ๊ก, และ กลุ่มขนาดใหญ่ไม่เป็นทางการบนเฟซบุ๊ก

บนกูเกิลพลัสเรามีกลุ่มสาธารณะของผู้ใช้, และกลุ่มปิดของผู้แก้ไขแผนที่

แผนที่ของประเทศไทย ดึงดูดความสนใจของผู้แก้ไขชาวต่างชาติจำนวนมาก ทำให้หน้าหลักของบทความจึงเป็นภาษาอังกฤษ เรากำลังสรรหาผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ!

การเรดแผนที่ (MapRaid) ในเดือนกันยายน 2558 (ข้อมูลการเรดแผนที่ในประเทศไทย) นั้นประสบความสำเร็จมาก การเรดแผนที่ดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารจัดการด้วยตัวเองของผู้แก้ไขในประเทศไทย

ข้อควรรู้ก่อนการแก้ไขแผนที่

  1. ผู้แก้ไขส่วนมากใน Waze เป็นชาวต่างชาติ ดังนั้นในชุมชนผู้แก้ไขแผนที่ Waze ประเทศไทยจึงใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร รวมถึงเป็นภาษาในการทำแผนที่ เพราะ
  2. แอพพลิเคชัน Waze มีปัญหากับการแสดงผลในภาษาไทย คือในระบบ iOS มีปัญหาตัวสระและวรรณยุกต์ไม่อยู่ในจุดที่ถูกต้อง ในระบบ Android มีปัญหาการแสดงผลตัวสระและวรรณยุกต์ และในแผนที่ Live บนเว็บไซต์มีปัญหาตัวสระและวรรณยุกต์เลื่อน
ภาพแสดงปัญหาการแสดงผลภาษาไทยคำว่า "วัดสุทธิวราราม" ในระบบต่าง ๆ ตอนนี้

บันทึก ปัจจุบันปัญหาการแสดงผลภาษาไทยในแอพพลิเคชัน Waze บนระบบ iOS และ Android นั้นได้รับการแก้ไขแล้ว คงเหลือแต่ปัญหาบนแพลตฟอร์มเว็บไซต์ (ธันวาคม 2561)

การแก้ไขแผนที่

หากคุณมีประสบการณ์ด้านการแก้ไขแผนที่อยู่แล้ว กรุณาอ่านต่อที่นี่เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เราสามารถทำได้ในแผนที่ประเทศไทย

แต่ถ้าคุณเป็นผู้แก้ไขแผนที่มือใหม่ เราแนะนำให้คุณไปชมหน้าต้อนรับของตัวแก้ไขแผนที่ Waze (WME) (ภาษาอังกฤษ) เสียก่อน

โปรดทราบว่าพื้นที่ที่คุณสามารถแก้ไขแผนที่ได้นั้น คือเฉพาะบริเวณที่คุณขับรถผ่านโดยใช้แอพพลิเคชัน "Waze" ในการนำทางด้วยเท่านั้น และพื้นที่ดังกล่าวจะในการแก้ไขของคุณจะหมดอายุลงหลังจากผ่านไป 3 เดือน

แน่นอนว่าคุณต้องการที่จะแก้ไขโดยทันที แต่อย่างน้อยคุณจะต้องเข้าไปชมแนวทางเริ่มต้นอย่างง่ายในการแก้ไขแผนที่ (ภาษาอังกฤษ) เพื่อให้คุณเข้าใจในคุณลักษณะต่าง ๆ ที่มีในตัวแก้ไขแผนที่ Waze รวมทั้งคำอธิบายการใช้งานพวกมันอย่างง่ายก่อน

สำหรับความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งขึ้นในการแก้ไขแผนที่ เราแนะนำให้คุณอ่าน หน้าของตัวแก้ไขแผนที่ Waze (ภาษาอังกฤษ)

สำหรับผู้แก้ไขใหม่ คุณย่อมมีแนวโน้มที่จะสร้างความผิดพลาดบางประการกับแผนที่ บทความนี้ (ภาษาอังกฤษ) จะแสดงให้คุณเห็นถึงข้อผิดพลาดทั่วไปในการแก้ไขแผนที่ และจะจัดการกับมันได้อย่างไร

คุณสามารถใช้แหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้ในการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงแผนที่:

- สตรีทวิวของ Waze (แต่ไม่ได้หมายรวมถึงชื่อถนนที่ปรากฏอยู่บนสตรีทวิว)

- มุมมองผ่านภาพถ่ายดาวเทียม Waze

- อะไรก็ตามที่ถูกสั่งสมมาจากการขับรถด้วยตัวคุณเองในพื้นที่นั้น ๆ

การใช้แหล่งข้อมูลภายนอกอื่น ๆ (ภาษาอังกฤษ) ที่ไม่ได้รับอนุญาตและถูกเขียนอย่างประนีประนอมลงในแผนที่ ซึ่งการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดอาจส่งผลให้คุณถูกถอดถอนสิทธิ์การแก้ไขแผนที่ได้

เมื่อคุณรู้สึกว่าเข้าใจได้ในคอนเซปพื้นฐานของการแก้ไขแผนที่ิอย่างเพียงพอแล้ว กรุณาอ่านต่อด้านล่างเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขแผนที่ได้เลย!

ชื่อในลักษณะทั่วไป

เราควรพยายามจับคู่ชื่อของถนนกับป้ายชื่อถนนต่าง ๆ และอย่างที่กล่าวไปในหัวข้อ "ข้อควรรู้ก่อนการแก้ไขแผนที่" ดังนั้นจึงควรใส่ชื่อถนนลงเป็นอักษรโรมัน ในปัจจุบันป้ายชื่อถนนส่วนมากมักมีชื่อในอักษรโรมันของถนนกำกับไว้คู่กับภาษาไทยอยู่แล้ว แต่หากไม่พบชื่อในอักษรโรมัน ให้ถอดชื่อภาษาไทยนั้นเป็นอักษรโรมันตาม การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน

หลักการกำหนดชื่อ

หลักการกำหนดชื่อถนนและสถานที่บางส่วน
ประเภท ชนิด หลักการ ตัวอย่าง
เส้นทาง ถนนทั่วไป (ชื่อถนน) + Rd หรือ Road Pracharat Sai 1 Rd, Rama 2 Rd
ตรอก Trok + (ชื่อตรอก) Trok Sake
ซอย Soi + (ชื่อซอย) Soi Tha Kham
ทางหลวง Hwy + (รหัสถนน) + (ชื่อถนน) 1 Hwy 1 (Phaholyothin Rd)
ทางหลวงชนบท Hwy + (รหัสถนน) + (ชื่อถนน) 1 Rural Rd 4027
ทางหลวงพิเศษ (ชื่อทางพิเศษ) + Expressway Si Rat Expressway
ธรรมชาติ คลอง Khlong + (ชื่อคลอง) Khlong Bangkok Noi, Khlong Bang Sue
แม่น้ำ (ชื่อแม่น้ำ) + River Chao Phraya River, Tha Chin River
เขื่อน (ชื่อเขื่อน) + Dam Pa Sak Jolasid Dam, Chao Phraya Dam
เกาะ Koh + (ชื่อเกาะ) Koh Chang, Koh Samet
อุทยานแห่งชาติ (ชื่ออุทยานแห่งชาติ) + National Park Sai Yok National Park
ทะเล (ชื่อทะเล) + Sea Andaman Sea

1 อาจมีหรือไม่มีก็ได้

ชื่อเมือง

สำหรับชื่อที่ระบุในส่วนของ City แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ชื่ออำเภอและจังหวัด เนื่องจากมีขนาดใหญ่และกว้างจนเกินไป ซึ่งชื่อเมืองจะปรากฏขึ้นขณะใช้แอพพลิเคชันนำทางในจุดต่าง ๆ ซึ่งจะอิงกับระบบการเขียนที่อยู่

  • สำหรับเขตเมืองหรือชานเมือง ใช้ชื่อตำบล ซึ่งมักตรงกับชื่อท้องถิ่นที่ชาวบ้านใช้นิยามท้องที่ของตน
  • สำหรับพื้นที่ห่างไกลออกไปอีก ใช้ชื่อหมู่บ้าน แทนเนื่องจากบางครั้งในระดับนี้ชื่อตำบลก็กว้างเกินไป
  • สำหรับพื้นที่ที่ไม่แน่ชัด ให้เว้นช่องนี้ไว้โดยการทำเครื่องหมายถูกที่กล่อง "None"

โดยการกำหนดชื่อจะไม่ใส่คำว่า ตำบล หรือ หมู่บ้านลงไปด้วย โดยใส่เพียงส่วนของชื่อจริง ๆ เท่านั้น

ถนน

  • ประเทศไทยขับรถโดยยึดระบบมือซ้าย (Left hand traffic; LHD) เป็นมาตรฐาน
  • ภาพถ่ายดาวเทียมบางจุดอาจเกิดการเลื่อน (ไปผิดตำแหน่ง) หรือไม่ทันสมัยแล้ว อาจเปิดใช้ชั้น WME GPS มาเพื่อหาตำแหน่งถนนที่ถูกค้องได้ เฉพาะภาพถ่ายดาวเทียมและสตรีทวิวที่มีให้ภายใน WME เท่านั้นที่อาจนำมาใช้ ความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นก็อาจนำมาใช้ได้ เว้นแต่แหล่งข้อมูลภายนอกใด ๆ ก็ตามนั้นมิอาจใช้ได้
  • คุณสามารถ "เพิ่ม alternate name/ชื่ออื่น ๆ" ของถนนได้เสมอ เพื่อให้ถนนนั้นมีชื่อมากกว่าหนึ่งชื่อ ใช้ตัวเลือกนี้เมื่อชื่อถนนนั้นมีการสะกดได้หลายลักษณะ หรือเมื่อต้องการใส่ชื่อภาษาไทยให้กับถนน

การใส่ชื่อภาษาอังกฤษ

ดังที่ได้กล่าวถึงเหตุผลข้างต้นไปแล้ว เราจึงต้องใส่ชื่อถนนเป็นภาษาอังกฤษ โดยผู้แก้ไขควรลองหาป้ายชื่อถนน และนำอักษรโรมันที่ปรากฏ (ใต้ชื่อภาษาไทย) มาใช้ หากไม่พบให้ทำการถอดภาษาไทยเป็นอักษรโรมันตามราชบัณฑิตสภา (ศึกษาเพิ่มเติมบนวิกิพีเดีย) ข้อแนะนำนี้ทำให้ Waze นั้นแสดงชื่อตรงกับที่ผู้ขับขี่เห็นได้บนป้าย เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุหรือการเลี้ยวผิดได้

และยังมีหลักการเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยดังนี้

เทพารักษ์ 106 และชื่ออื่น ๆ
  • หากบนป้ายปรากฏการถอดคำว่า "ถนน" เป็น "Thanon" และ "ตรอก" เป็น "Trok" ให้ลบการถอดคำเหล่านี้ออก และแทนที่ด้วยคำว่า Rd (ย่อมาจาก Road แปลว่า ถนน) แทน เช่น ป้ายถนนสุขุมวิท อาจมีการถอดเป็น "Thanon Sukhumvit" ให้แก้เป็น "Sukhumvit Rd" แทน
  • คำว่า "ซอย" (ถอดเป็น "Soi") ให้คงไว้ในชื่อ และไม่เติมคำว่า "Rd" และ/หรือ "Alley" ต่อท้าย และโปรดใช้ชื่อซอยเป็นชื่อเดียวกับที่ปรากฏบนป้าย โดยรูปแบบการกำหนดชื่อซอยมีรูปแบบดังนี้ :

<ชื่อถนนหลัก> <คำว่าซอย (ถ้ามี)> <เลขซอย> เช่น (ดังภาพ) ซอยที่ 106 ของถนนเทพารักษ์ ให้เขียนเป็น Thepharak 106 ('ไม่ใช่ Soi Thepharak 106' หรือ Thepharak Soi 106 เนื่องจากบนป้ายไม่มีคำว่า 'ซอย') ขณะที่ชื่ออื่น ๆ ของซอยนี้จะเขียนเป็น Soi Thephaniwet 2 เนื่องจากบนป้ายมีความว่า ซอย อยู่ในชื่ออื่น ๆ

ทางหลวง

การตั้งชื่อ

มอเตอร์เวย์และทางด่วน

จำนวนหลัก ระดับของ Waze จำกัดการแก้ไขที่เลเวล ตัวอย่างถนน
1  ฟรีเวย์  L5 Hwy 1 (ถนนพหลโยธิน)
2  ฟรีเวย์  L5 Hwy 36
3  ทางหลวงขนาดใหญ่  L4 Hwy 305
Hwy 407 (ถนนกาญจนวนิช)
4 และ 5  ทางหลวงขนาดเล็ก  L3 Rural Rd 4027
Hwy 2085 (ถนนปุณณกัณฑ์)
มอเตอร์เวย์  ฟรีเวย์  L5 Chonburi Motorway Hwy 7
Motorway Hwy 9
ทางพิเศษ  ฟรีเวย์  (มีค่าธรรมเนียม) L5 Si Rat Expressway

ทางเชื่อม

 ทางเชื่อม  เป็นทางเข้าหรือออกจากฟรีเวย์และทางหลวง ให้ล็อกไว้ที่ L2, L3, L4 หรือ L5 (ให้เท่ากับระดับการล็อกสูงสุดบนส่วนที่เชื่อมต่ออยู่)

และตั้งชื่อว่า "to (ระบุปลายทาง)"

ถนนหลัก

 ถนนหลัก  ล็อกไว้ที่ L2 เป็นถนนหลักหรือทางหลักของหมู่บ้านหรือเมือง เช่น

  • ถนนเจริญนคร
  • ถนนจันทน์
  • ถนนพระรามที่ ๓

ถนนยาวที่อยู่นอกเมืองควรจัดให้เป็นถนนหลักเพื่อช่วยในเรื่องการหาเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นถนนหลักที่ใช้สัญจรเข้าสู่หมู่บ้าน

ถนน

 ถนน  ซอยหรือตรอก ถนนในจังหวัดที่ไม่เข้าเกณฑ์ของถนนหลัก

ถนนออฟโรด / ถนนไม่ได้รับการบำรุง (เดิม ถนนลูกรัง (4x4) )

 ออฟโรด  ถนนที่มีลักษณะทางกายภาพไม่สามารถใช้สัญจรได้โดยรถยนต์ปกติ (รถเก๋ง) และควรหลีกเลี่ยงถ้าเป็นไปได้ เช่น ถนนที่ต้องขับผ่านลำห้วยเล็ก ๆ, ถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่ออย่างมาก หรือถนนที่มีความกว้างน้อยเกินกว่าที่รถยนต์หนึ่งคันจะใช้วิ่งได้

ถนนทั่วไปที่ไม่ได้มีการปรับพื้นถนน แต่ใช้สัญจรได้ปกตื ควรให้ปรากฏในแผนที่เป็น ถนน ซึ่งจะทำให้ถูกใช้ในการรำทาง

ถนนส่วนบุคคล

 ถนนส่วนบุคคล  เป็นถนนที่มุ่งตรงสู่บ้านหลังเดี่ยว หรือถนนไม่สาธารณะซึ่งเป็นถนนของบริษัทห้างร้าน หรือชุมชนหมู่บ้าน

ถนนลานจอดรถ

 ถนนลานจอดรถ  และลานจอดรถขนาดใหญ่ เช่น ลานจอดของห้างสรรพสินค้า ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องวาดถนนลักษณะนี้ทุกเลนของที่จอด และสามารถใส่ชื่อเมืองโดยละชื่อถนนได้ (โดยการเลือกที่กล่อง "None/ไม่มี" ที่ด้านบนชื่อส่วน Name/ชื่อ)

ถนนบริการสามารถกำหนดเป็นถนนลานจอดรถได้เช่นกัน เช่น ถนนที่เชื่อมระหว่างถนนเส้นใน (Frontage Roads) กับปั๊มน้ำมัน และร้านค้าตามแนวฟรีเวย์

ทางรถไฟ

 |-|-|-|-|-|-|-|-|-| ทางรถไฟ |-|-|-|-|-|-|-|-|-| 

  • ไม่ต้องระบุเมือง
  • การระบุชื่อ หากเป็นทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้ระบุเป็น "Thai Railway" หากเป็นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ให้ระบุชื่อของสายทางการ เช่น "MRT Blue Line" หรือ "BTS Sukhumvit Line"
  • ทิศทางกำหนดเป็นทั้งสองทิศทาง
  • ความสูงกำหนดตามความสูงจริง
  • ระดับการล็อก L5

หลักกิโลเมตรบนสตรีทวิว

สถานการณ์พิเศษบนถนน

จุดกลับรถ

ถนนคู่ขนาน

ถนนเลียบคลอง

ถนนแยกเลน

สถานที่

ศึกษาใน ไกด์ไลน์ทั่วไป (ภาษาอังกฤษ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ปัญหาแนวชายฝั่ง

ส่วนของแผนที่จำนวนมากซึ่งเป็นแผ่นดินยังคงปรากฏเป็นพื้นน้ำ ปัญหานี้พบบนแอพพลิเคชันและ Livemap ปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการแก้ไขโดยศูนย์บัญชาการ Waze แต่ระดับความสำคัญของปัญหาลักษณะอยู่ในระดับต่ำ เราสามารถแก้ไขปัญหา 'ชายฝั่ง' นี้ได้ด้วยตัวเอง โดยการสร้างสถานที่ประเภทเกาะขึ้นมาครอบคลุมส่วนที่เป็นปัญหา หลังจากสร้างพื้นที่ประเภทเกาะแล้ว กรุณรอจนกว่าจะปรากฏบน livemap และปรับแก้รูปร่างจนกว่าจะสมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ห้ามตั้งชื่อให้กับเกาะเด็ดขาด ให้ใส่คำอธิบาย เช่น "coastline problem" ลงไปในกล่อง คำอธิบาย/description แทน จากนั้นให้ติดต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อล็อกเกาะนั้นเป็นระดับ 5

ชื่อสถานที่

ชื่อหลักของสถานที่ควรเป็นชื่อฉบับถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาไทย หากสถานที่มีชื่อภาษาอังกฤษให้ใส่ชื่อภาษาอังกฤษ ส่วนชื่อภาษาไทยให้ใส่ในชื่ออื่น ๆ

ที่อยู่

ที่อยู่แบบไทยมีรายละเอียดจำนวนมากที่ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับขอบเขตข้อมูลของ WME ได้ง่ายนัก ดังนั้น ให้เพิ่มชื่อเมืองและถนนตามปกติ แต่ขณะนี้ ที่อยู่เต็มของสถานที่ (หากทราบ) สามารถระบุไว้ในกล่อง "คำอธิบาย/description"

จุด vs สถานที่

ประเทศไทยนั้นแตกต่างกับมาตรฐานโลก เมื่อพูดถึงการใช้สถานที่ที่เป็นพื้นที่ (area places) และสถานที่ที่เป็นจุด (point places) เนื่องจากถนนจำนวนมากนั้นไม่มีชื่อ หรือป้ายบอกชื่อ (ทั้งในความเป็นจริงและใน Waze) แลนด์มาร์กสำคัญใด ๆ ที่สามารถเข้าถึงให้สร้างเป็นสถานที่ที่เป็นพื้นที่ (area places) เพื่อช่วยในการนำทางจริง สถานที่ดังกล่าวนั้น อาจเป็น วัด, โรงเรียน, สำนักงานของหน่วยงานรัฐ หรือ หน่วยงานธุรกิจใด ๆ ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ส่วนสถานที่ที่เป็นจุด (point places) อาจไม่มีความจำเป็นในเขตชุมชนเมือง หรือพื้นที่ที่มีการระบุเป็นอย่างดี จึงควรใช้วิจารณญาณที่ดีที่สุดในการตัดสินใจว่าเมื่อใดจึงควรใช้สถานที่แบบใด

โดยทั่วไป สถานที่เหล่านี้ควรจะต้องชื่อทุกครั้งที่ทำได้ คำที่บ่งชื่อทั่วไป เช่น "School" หรือ "Temple" อาจถูกนำมาใช้ในพื้นที่ชนบท เมื่อไม่ทราบชื่อสถานที่นั้น เพื่อช่วยในการนำทาง

โปรดระลึกไว้ว่า Waze จะไม่เรนเดอร์สถานที่ที่เป็นพื้นที่ขนาดเล็ก โดยข้อจำกัดของขนาดที่แน่นอนนั้นยังไม่มีการนิยาม แต่ในขณะที่เขียน สถานที่ที่จะปรากฏต้องมีขนาดอย่างน้อย 25 เมตร x 35 เมตร เพื่อให้ปรากฏให้เห็นได้บนแอพ ส่วนแลนด์มาร์กสำคัญอาจมีการวาดขนาดใหญ่กว่าขนาดจริงเพื่อให้สามารถมองเห็นได้บนแอพ

สถานที่ตามธรรมชาติ

สถานที่ที่เป็นจุด

บริเวณลานจอดรถ

ตัวอย่าง

เลเวล สิทธิ ฯลฯ

หากคุณไม่สามารถแก้ไขบางอย่างได้ นั่นเป็นเพราะมันถูกล็อกอยู่ ไปตั้งกระทู้ร้องขอปลดล็อกได้ที่นี้ (ควรตั้งกระทู้เป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิ์ปลดล็อกที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยสามารถดำเนินการได้ด้วย) ก่อนที่คุณจะเริ่มทำงานบนทางแยกหรือวงเวียน กรุณาอย่าลืมตรวจสอบเลเวลของส่วนที่เชื่อมต่ออยู่ทั้งหมดเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถแก้ไขได้โดยไม่มีอุปสรรค์

ในพื้นที่ใดที่ส่วนมากนั้นอยู่ภายใต้การก่อสร้าง การล็อกตามระดับปกติในพื้นที่ดังกล่าวนั้นไม่จำเป็น และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือได้

A stubbed road

หากคุณยืนกรานที่จะล็อกถนนที่ยังสร้างไม่เสร็จ ลองทำการ stubbing การ stubbing เป็นการสร้างส่วนสั้น ๆ ซึ่งใช้การล็อกระดับต่ำแยกออกมาจากถนนที่มีอยู่ ซึ่งส่วนดังกล่าวผู้แก้ไขเลเวลน้อยสามารถเข้าถึงส่วนนั้นได้

หากต้องการเป็นผู้จัดการพื้นที่ (area manager) กรุณากรอกแบบฟอร์ม: แบบฟอร์มสมัคร AM เมื่อส่งแล้ว คุณจะได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมใน Thailand channel ที่ Waze Slack

คณะผู้จัดการปัจจุบัน

คณะผู้จัดการส่วนประเทศ (Country managers: CM)

ปัจจุบันคณะผู้จัดการส่วนประเทศ Waze Thailand มี ดังนี้

  • Orbit
  • Shmupi
  • Dutchdirt (คุณปีเตอร์) (ผู้ประสานงานประเทศ/Country Coordinator)
  • HandOfMadness (คุณชอว์น)
  • Sorin100
  • machete808 (คุณวิกกี)
  • fermario73 (คุณเฟร์นันโด)
  • Nacron
  • RIMAJUES (คุณริเวโร)
  • sstuff3 (คุณสก็อต)
  • nttee

คณะผู้จัดการส่วนภูมิภาค (Region managers: RM)

ปัจจุบัน Waze Thailand มีคณะผู้จัดการส่วนภูมิภาคจำนวน 24 คน โดยบางส่วนเป็นคณะผู้จัดการส่วนประเทศด้วย ดังนี้

# ภูมิภาค RM
1 เชียงใหม่ fermario73, Walter-Bravo
2 พิษณุโลก Bertzzzz, sodastudio
3 อุดรธานี machete808, SixSences, Isaan-Cowboy
4 กาญจนบุรี eLoneX, mvanbaal, S_Weerasak
5 กรุงเทพมหานคร Dutchdirt, Nacron, iluvstlucia, RIMAJUES, sstuff3, mclarenhondamcl32, nttee
6 พัทยา okrauss, Kirize14
7 ตราด fernandoanguita, TagGabriel
8 สุราษฎร์ธานี Handofmadness, Rfrsw101, jchiarav
9 หาดใหญ่